งานวิจัยลูทีน กับ โรคจอประสาทตาเสื่อม

งานวิจัย ลูทีน จอประสาทตาเสื่อม

ลูทีนช่วยป้องกันและฟื้นฟู โรคจอประสาทตาเสื่อม ได้จริงรึเปล่า หลายๆ คนก็คงอยากรู้กัน ก่อนจะไปเรื่องว่า โรคจอประสาทตาเสื่อมคืออะไร ก็จะมีลิ้งค์ให้อ่านเรื่องจอประสาทตาเสื่อมไว้ให้นะ วันนี้ Health30Plus ขอมาเล่าเกี่ยวกับ งานวิจัยต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคจอตาเสื่อมมาให้ลองพิจารณากันดู ซึ่งมีข้อมูลโรคนี้ทั้งฝั่งในประเทศ และ ต่างประเทศ เลยทีเดียว

ลูทีน (Lutein) คืออะไร?

8 อาหารที่มีลูทีนสูง

ในประเทศ เกี่ยวกับ โรคจอประสาทตาเสื่อม

โดย รองศาสตราจารย์ วิมล ศรีศุข คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เขียนแนะนำในบทความ เกี่ยวกับโรคจอตาเสื่อมไว้ ดังนี้

การทานลูทีน และ ซีแซนทีน ที่เป็นสารประกอบขอกลุ่มแคโรทีนนอยด์ ร่างกายผลิตดเองไม่ได้ มีการศึกษาประชากรกลุ่มใหญ่ 12 ฉบับ (แต่ไม่สม่ำเสมอ)

พบว่าคนที่ทานผักผลไม้ที่มีทำให้ลูทีนและซีแซนทีนในเลือดสูง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคจอประสาทตาได้

งานวิจัยต่างประเทศ เกี่ยวกับ โรคจอประสาทตาเสื่อม

Alon Harris, Indiana University School of Medicine, USA ได้เขียวเกี่ยวกับงานวิจัยไว้ดังนี้

ลูทีนส่งผลต่อความหนาแน่นของเม็ดสีกับผู้ที่ภาวะจะประสาทตาเสื่อมตามอายุอย่างไร?

โดยทำการทดลองสุ่มผู้ป่วยที่เป็น AMD ให้ทานลูทีน และ กลุ่มที่เป็น AMD แต่ให้ยาหลอก

ผลปรากฏว่า ผู้ที่ทานลูทีนเสริม 10 – 20 มก ต่อวัน นานกว่า 6 เดือน เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เป็น AMD หรือ โรคจอประสาทตาเสื่อม

นี่เป็นบางส่วนของงานศึกษาและงานวิจัยเกี่ยวกับโรคจอประสาทตาเสื่อมเท่านั้น สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ แหล่งข้อมูลด้านล่างได้เลย

อาหารเสริม ลูทีน และ ซีแซนทีน ในท้องตลาด ควรทานอย่างไร?

อย่างแรกที่ต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า กฏหมาย อย ให้ใส่ ลูทีนและซีแซนทีน รวมกันได้ไม่เกิน 20 mg ต่อการทาน 1 วัน หรือ 1 แคปซูล หากอาหารเสริมยี่ห้อไหนบอก ใส่ลูทีนมากกว่า 20 มก ถือว่าเป็นของปลอม และ ผิดต่อกฏหมาย

แหล่งข้อมูล

  • Effects of lutein supplementation in age-related macular degeneration https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0227048
  • กินอะไร…ชะลอจอประสาทตาเสื่อม https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/189/ลูทีนมีประโยชน์ต่อดวงตาอย่างไร