ปัญหาท้องผูก ของ ผู้ใหญ่วัย 30+ เสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้ได้

ปัญหาท้องผูก

ท้องผูกเป็นปัญหาของคนส่วนใหญ่ในประเทศ ซึ่งหากปล่อยไว้นานๆ จะจนท้องผูกเรื้อรัง โดยไม่รีบรักษา แสดงว่าอยู่ในความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ได้ โดยเฉพาะในวัยที่สูงขึ้นร่างกายเสื่อมลง โอกาสเป็นโรคต่างๆ เป็นไปได้ง่ายขึ้นอย่างมาก วันนี้ Health30Plus มาเล่าถึงปัญหาท้องผูก วิธีแก้ไข และ วิธีป้องกัน ให้ผู้อ่านได้รับรู้พร้อมกัน

ปัญหาท้องผูก ของ ผู้ใหญ่วัย 30+ เสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้ได้

ท้องผูกคืออะไร?

ท้องผูก หมายถึง ภาวะการถ่ายที่ผิดปกติทั้งเรื่องความถี่ในการถ่ายและลักษณะของอุจจาระ การขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อุจจาระเป็นก้อนแข็งมีมูกเลือดปน ถือว่ามีเข้าข่ายการเป็นโรคท้องผูก

อาการท้องผูกเป็นอย่างไร?

  • ไม่สบายและเจ็บปวดช่องท้อง ท้องอืด
  • ไม่สบายตรงรูทวาร มีเลือดไหลเวลาเบ่งอึ
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ ผายลมมีกลิ่น ปากมีกลิ่น
  • ถ่ายอุจจาระไม่ต่อเนื่อง
  • ถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • อุจจาระมีลักษณะแข็ง มีมูกเลือดปน
  • ใช้เวลาขับถ่ายค่อนข้างนานในแต่ละครั้ง

ผู้ที่มีลักษณะขั้นต้นอย่างน้อย 2-3 ข้อขึ้นไปแสดงว่ามีโอกาสในการเป็นท้องผูก ซึ่งสังเกตุได้จากอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยงาน ไม่สดชื่น ทางที่ดีควรเป็นพบแพทย์

อันตรายจากการท้องผูก

ด้านร่างกายการปล่อยไว้โดยไม่ดูแลรักษาอาการท้องผูกเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็น มะเร็งสำไส้ใหญ่ สำหรับกลุ่มที่การอุดตันภายในลำใส้

ด้านจิตใจก็ทำให้หุดหู่ ฉุนเฉียว หรือ เข้าสู่การเป็นซ้ำเศร้าได้ในที่สุด

ด้านการทำงานและการใช้ชีวิตจะทำให้เรารู้สึุกไม่สบายตัว ป่วยบ่อยไม่สดชื่นทำให้เกิดการลางาน และ ขาดงานได้ในที่สุด

สาเหตุท้องผูก

เกิดได้จากการไม่ค่อยได้ทานผักผลไม้ที่มีไฟเบอร์ทำให้ลำไส้ไม่มีตัวช่วยในการย่อยอาหาร เมื่อทานอาหารลงไปเข้าไปในกระเพาะลำเลียงเข้าสู่ลำไส้ พอไม่มีไฟเบอร์ก็ทำให้เกิด ขี้แข็ง ก่อนที่จะถึงเวลาถ่าย พอถึงเวลาถ่ายเลยทำให้เกิดการนั่งนาน เพราะถ่ายไม่ออก ที่ถ่ายไม่ออกเพราะว่า มันแข็ง พอมันแข็งก็รู้สึกเจ็บปวด พอเจ็บปวดก็ไม่อยากถ่าย พอไม่อยากถ่ายหรือถ่ายไม่ได้ก็เกิดการสะสมของลำไส้ นั้นเอง

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นท้องผูก

  • จากข้อมูลสถิติในประเทศไทยพบว่า 24% ของประชากรมีอาการท้องผูก
  • เพศหญิงมีปัญหาด้านท้องผูกมากกว่าผู้ชาย
  • อายุมากขึ้นมักท้องผูกมากกว่าคนวัยเด็กและหนุ่มสาว เนื่องจากการทานน้อยลง ขยับตัวน้อยลง
  • ขาดการออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นบริหารลำไส้เป็นการกระตุ้นระบบลำไส้ให้ทำหน้าที่ได้ดี

วิธีรักษา ป้องกัน อาการท้องผูก

  • ฝึกให้ถ่ายให้มากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • ฝึกถ่ายเป็นเวลาเดิมซ้ำๆ ระบบลำไส้จะทำงานในช่วงเช้า ดังนั้นการฝึกถ่ายในช่วงเช้าจะดีที่สุดเป็นเวลาของระบบในร่างกาย
  • ทานอาหารที่มีกากใย และ ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อให้อุจจาระนิ่มส่งผลให้ถ่ายง่ายขึ้น
  • ออกกำลังกายเคลื่อนไหวล่างกายเยอะๆ จะทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น
  • รับประทานอาหาร ผัก ผลไม้ ที่มีกากใยสูง ทำให้การถ่ายจะง่ายขึ้น
  • ทำการดีท๊อกซ์ล้างลำไส้บ้าง

คนอายุมากขึ้นต้องรู้จักดูแลตัวเองโดยเฉพาะคนที่อายุสามสิบขึ้นแล้ว ต้องเริ่มหันมาดูแลตัวเองอย่างจริงจังมากขึ้น เพื่อไม่ให้ในอายุที่สูงขึ้นกว่านี้ทำให้เราเป็นโรคร้ายแรงมากขึ้น เริ่มดูแลตัวเองตั้งแต่ตอนนี้ 🙂

——

Ref1 : Constipation | คณะแพทย์ รพ รามา มหาลัยมหิดล

Ref2 : What You Should Know About Constipation | Healthline